วัดแห่งนี้ได้นามว่า “วัดน้ำบ่อหลวง” เพราะถือเอาบ่อน้ำใหญ่เป็นนิมิต ได้นามว่า “วนาราม” เพราะตั้งอยู่ในป่า เป็นไปตามพุทธบัญญัติเป็นวัดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างเมื่อสมัย “โยนะกะบุรี” ปี พ.ศ. ๑๓๒๓ หรือจุลศักราช ๑๔๒ โดย “สุพรรณะรังสี ปโคตเศรษฐี” พร้อมพุทธศาสนิกชน ทั้งกลายร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อถวายไว้ในพุทธศาสนา และมีประเพณีทำบุญตามเทศกาล มาแต่โบราณ มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ตำนานกล่าวไว้ว่ามีถึงพันรูป มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้างเพราะสภาพบ้านเมืองที่เกิดจากภัยสงคราม จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านครูบาเจ้าอินทจักรรักษา (พระสุธรรมยานเถร) ที่พำนักเดิมท่านอยู่ที่วัดป่าเหียงกองงาม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมในเขตป่าที่ตั้งวัดน้ำบ่อหลวงนี้ พร้อมด้วยพระภิกษุที่เป็นศิษย์จำนวน ๑๐ รูป ในครั้งนั้นศรัทธาประชาชนในเขตตำบลสันกลาง (ต่อมาแยกออกเป็นตำบลน้ำบ่อหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งมีพ่อขุนอนุพลนคร ())((ก.นิมานันท์) เป็นประธาน และนายปัญญา ภิญโญฤทธิ์ พร้อมด้วยประชาชนในตำบลใกล้เคียงมาร่วมทำบุญ ตักบาตร แล้วนิมนต์ท่าจำพรรษา ณ วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) แห่งนี้
วัดน้ำบ่อหลวงซึ่งเดิมเป็นวัดร้างมานานได้กับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนในอดีต ก็โดยอาศัยบุญญาบารมีของท่านพระครูบาเจ้าอินทจักรรักษา (พระสุธรรมยานเถร) ได้อบรมศีลธรรมแก่ประชาชนทั่วไปจนมีความรู้ความเข้าใจในศีลธรรม กรรมฐาน นำศรัทธาประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสในหลักธรรมด้วยการนำปฏิบัติ โดยศรัทธาประชาชนได้สามัคคีบริจาคทรัพย์บำรุง บูรณะก่อสร้างวัดนี้ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่มิได้สร้างสิ่งปลูกสร้างให้ใหญ่โตหรือสูงมากนัก โดยมีความตั้งใจจะให้เป็นวัดที่รักษาสภาพป่าไว้ เพื่อลูกหลานจนปรากฏเป็นรมณีสถานอันน่ารื่นรมย์ในปัจจุบันปัจจุบันวัดน้ำบ่อหลวงมีความเจริญในทุกด้าน มีความมุ่งมั่นที่จะรักษาปณิธานของท่านครูบาเจ้าอินทจักรรักษา (พระสุธรรมยานเถร) คือ การพัฒนาจิตใจศรัทธาประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในศีลธรรม กรรมฐาน ปฏิบัติตามคำสอนที่เป็นสัมมาปฏิบัติอนุรักษ์ไว้ซึ่งผืนป่าให้คงสภาพเดิมมากที่สุด และการอำนวยให้เกิดเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ประเทศชาติ ซึ่งมีลูกศิษย์ที่เคยอยู่รับใช้ใกล้ชิดผู้สืบสานเจตนารมณ์ของท่าครูบาเจ้าอินทจักรรักษา คือ พระครูธรรมาภิรม (อินถา วรธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดน้ำบ่อหลวงรูปปัจจุบัน