ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง ต.น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ โทร 052-080778
นายเจริญ ซ้อนฝั้น
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โทรศัพท์0843782356
นายบดินทร์ คล้อยคล้า
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล โทรศัพท์0854265973
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมาและข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
อำนาจหน้าที่ของ อบต.
โครงสร้าง อบต.น้ำบ่อหลวง
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา อบต.
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
คู่มือและแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
คู่มือหรือแนวทางการให้บริการสำหรับผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อ
ข้อบัญญัติงบประมาณ
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนการดำเนินงาน
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
แผนยุทธศาสตร์กองคลัง
แผนปฎิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
งานการเจ้าหน้าที่
แผนพัฒนาบุคคลากร
แผนอัตรากำลังพนักงาน 3 ปี
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
แผ่นพับเสริมสร้างวินัยข้าราชการ
มาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง
แบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานส่วนท้องถิ่น
สมรรถนะการปฏิบัติงาน
คำสั่งกำหนดงานและมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ
การกำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
คำสั่งมอบหมายอำนาจ
มาตรฐานจริยธรรม
ผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี อบต.น้ำบ่อหลวง
จดหมายข่าว
ผลการดำเนินงาน
มาตรฐานการให้บริการ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
ผลการดำเนินโครงการต่างๆ
กิจการงานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง
ประกาศ
เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง
นัดประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
เชิญประชุม
ขยายเวลา
แปรญัญัติ
รายงานการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการ
การบริหารเงินงบประมาณ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
งบแสดงฐานะการเงิน
ข้อมูลรายรับและรายจ่าย
งบทดลอง
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน
รายงานการรับจ่ายจริงตามงบประมาณ
รายรับจริงประกอบรายงานรับ-จ่ายเงิน
รายงานการประเมินประสิทธิภาพ(LPA)
รายงานผลตรวจสอบจาก สตง./ป.ป.ช./ป.ป.ท./สถ.
ผลการรายได้จัดเก็บหมวดภาษีอากร
การใช้จ่ายเงินสะสม
งานพัฒนารายได้
รายงานผลการจัดเก็บรายได้ประจำปี
การบริหารงานพัสดุ
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
รายงานการตรวจสอบพัสดุประจำปี
ประกาศราคากลาง
ประกาศผู้ชนะจัดซื้อจัดจ้าง ประจำไตรมาส
การเผยแพร่ข้อมูลอย่างเป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้าง
ITA จัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลสำหรับประชาชน
คู่มือสำหรับประชาชน
คู่มือสำหรับบริการประชาชน
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
คู่มือการร้องเรียนร้องทุกข์
แผนผังการร้องเรียนร้องทุกข์
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ประจำปี
มาตราการป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฏหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ
การป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตประจำปี
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการฯ รอบ 6 เดือน
รายงานการรับของขวัญ
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
มาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
มาตรการป้องกันการรับสินบน
มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจ
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลน้ำบ่อหลวง
งานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.น้ำบ่อหลวง
ความเป็นมา
วัตถุประสงค์
คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.น้ำบ่อหลวง
ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.น้ำบ่อหลวง
คู่มือปฏิบัติงานกองทุนฯ
แผนสุขภาพชุมชนตำบลน้ำบ่อหลวง
แผนการเงินประจำปี
แผนงาน/โครงการ ประจำปี
แบบฟอร์มเสนอแผนงาน/โครงการ
แบบฟอร์มรายงานผลการดำเนินงาน
สรุปผลการดำเนินงานประจำปี
ฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในตำบลน้ำบ่อหลวง
ตัวชี้วัดการประเมิน ITA
ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
ฐานข้อมูลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่รับเบี้ยยังชีพฯ
การส่งเสริมกีฬาขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง
โรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำลบลน้ำบ่อหลวง
ข้อมูลทั่วไปศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำลบลน้ำบ่อหลวง
ประกาศ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล
มาตรฐานการดำเนินงาน
คู่มือผู้ปกครอง ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2558
คำสั่งการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอน
โครงสร้าง บุคลากร โรงเรียนอนุบาล อบต. น้ำบ่อหลวง
โครงสร้างบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.น้ำบ่อหลวง
ศูนย์ประสานงานเลือกตั้งอบต.น้ำบ่อหลวง
การบริหารจัดการลดพลังงาน (ไฟฟ้า)
คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน
ประกาศ การรณรงค์มาตราการประหยัดพลังงาน
รายงานผลการลดการใช้พลังงาน
มาตราฐานขั้นต่ำการจัดบริการสาธารณะ
การบริหารจัดการความเสี่ยง
วิธีเข้าใช้งาน E-Service
ฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data)
ขณะนี้
7 คน
สถิติวันนี้
610 ครั้ง
สถิติเดือนนี้
33,526 ครั้ง
สถิติปีนี้
747,386 ครั้ง
สถิติทั้งหมด
2,537,250 ครั้ง
ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2557
ประชาสัมพันธ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
(07 ก.ย. 59)
ไวรัสซิกา
หรือ
ไข้ซิกา
เป็นอีกหนึ่งโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ แม้จะยังไร้วัคซีนป้องกัน แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายใน 7 วัน ที่ต้องระวังคือเด็กทารกที่หากติดเชื้อแล้วอาจทำให้มีศีรษะเล็กกว่าปกติ
ถ้าว่ากันถึงภัยจากยุงลายที่เรารู้จักกันดีอย่างไข้เลือดออกแล้ว ยังมีอีกโรคหนึ่งชื่อ "ไวรัสซิกา" ที่เราควรรู้จักไว้ เพราะในช่วงปี 2558 โรคนี้ได้ระบาดหนักในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่การระบาดรุนแรงจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสถานการณ์ยังรุนแรงไม่หยุด ทำให้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
ขณะที่ประเทศไทยก็พบผู้ติดเชื้อในหลายจังหวัด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ดังนั้นได้เวลาแล้วที่เราควรจะทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อไวรัสซิกากันแบบจริงจัง แม้จะยังไม่ใช่เรื่องใกล้ตัว แต่ก็ไม่ควรละเลยด้วยประการทั้งปวงค่ะ
ไวรัสซิกา คืออะไร ?
ไวรัสซิกา หรือไข้ซิกา เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีซึ่งทั้งหมดล้วนมียุงลายเป็นพาหะ เชื้อไวรัสซิกาถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงวอก ที่ถูกนำมายังป่าซิกาในประเทศยูกันดา เพื่อศึกษาไข้เหลือง เมื่อปี พ.ศ. 2490 และพบในคนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในประเทศไนจีเรีย เชื่อไวรัสซิกาพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
ไวรัสซิกา กลุ่มเสี่ยงคือใคร
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุดคือ
กลุ่มสตรีตั้งครรภ์
ซึ่งหากติดเชื้อแล้วจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายด้วย คือจะทำให้เด็กมีศีรษะเล็กกว่าปกติ ดังนั้นจึงมีคำเตือนหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของโลก หรือหากเป็นประชากรในประเทศที่มีการระบาดก็ขอให้ชะลอการตั้งครรภ์ออกไปก่อน
แต่หากหญิงตั้งครรภ์มีอาการไข้ ผื่นขึ้น ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อทำการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีไข้ออกผื่น กลุ่มเด็กทารกที่มีศีรษะลีบ และผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้
ไวรัสซิกา ติดต่อได้อย่างไร
ไวรัสซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อได้ทางเลือด หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามในตอนแรกยังไม่มีรายงานว่าพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน กระทั่งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ยืนยันว่า
พบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่ไวรัสชนิดนี้ระบาด นั่นแสดงว่าโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์
ไวรัสซิกา อาการเป็นอย่างไร
องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ติดเชื้อราว 1 ใน 4 ที่จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังได้รับเชื้อ ซึ่งจะปรากฏอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว และปวดหัว
แต่อาการเหล่านี้สามารถทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก
แต่ถ้าหากปล่อยไว้ อาการอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ระบบการทำงานของสมองผิดปกติได้ ทั้งนี้หากเป็นผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ ซึ่งจะทำให้ทารกมีความผิดปกติที่ศีรษะ โดยจะมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ
ภาพจาก paho.org
ไวรัสซิกา รักษาอย่างไร
แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่โรคไวรัสซิกา ก็ยังเป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด ทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไวรัสอื่น ๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนมาก ๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานยาตามแพทย์สั่ง นอกจากนี้ก็ยังควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ อีกด้วย
ไวรัสซิกา ป้องกันได้อย่างไร
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดของโรคไวรัสซิกา หรือไข้ซิกาก็คือพยายามอย่าให้ยุงกัด อีกทั้งยังควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันโรคที่อาจมากับยุงลายนอกเหนือไวรัสซิกาได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง โรคไข้เวสต์ไนล์ และโรคชิคุนกุนยา นอกจากนี้ถ้าอยากทราบวิธีป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยวิธีธรรมชาติละก็ลองตามไปอ่านที่นี่ได้เลย
12 วิธีป้องกันยุงกัดส่งตรงจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี
สถานการณ์ของไวรัสซิกาในต่างประเทศ
จากรายงานของขององค์การอนามัยโลกพบว่าเชื้อไวรัสซิกาได้ระบาดในแถบทวีปอเมริกาใต้อย่างหนักมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 โดยเฉพาะในประเทศบราซิลและโคลอมเบีย ซึ่งประเทศบราซิลถือเป็นประเทศที่มีการระบาดหนักที่สุดจนถึงขั้นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังพบเด็กทารกแรกเกิดติดเชื้อและมีความผิดปกติทางสมองเกือบ 4 พันราย ส่วนในประเทศโคลอมเบียมีการคาดการณ์ว่าการระบาดของไวรัสซิกาอาจทำให้มีผู้ป่วยถึง 600,000-700,000 คน ทางกระทรวงสาธารณสุขโคลอมเบียจึงออกประกาศแนะนำให้สตรีเลื่อนการตั้งครรภ์ออกไป 6-8 เดือนเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว
ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา ก็วิตกกังวลกับสถานการณ์การระบาดดังกล่าว จึงออกประกาศเตือนให้หญิงที่ตั้งครรภ์และบุคคลทั่วไปเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
โดย แพทย์หญิงมาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ระบุว่า การประกาศครั้งนี้เพื่อทำให้นานาชาติร่วมมือในการปรับปรุง และส่งเสริมการตรวจหาผู้ติดเชื้อ อีกทั้งเพื่อให้เกิดการเร่งมือด้านการพัฒนาวัคซีนและการวินิจฉัยโรคที่ดีกว่าเดิม แม้ยังไม่จำเป็นต้องออกข้อจำกัดด้านการค้าและการเดินทาง
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ระบุด้วยว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้สมเหตุสมผลแล้ว จากเหตุผลทั้งความเร็วของการระบาดของเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะชนิดนี้ และข้อสงสัยที่ว่า มันอาจมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากของเด็กทารกที่เกิดมาพร้อมภาวะศีรษะเล็กในพื้นที่ที่ไวรัสนี้แพร่กระจาย ซึ่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เป็นไปตามคำแนะนำของเหล่าคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอิสระขององค์การอนามัยโลก
สำหรับประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิกาตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค หรือ CDC (Centers for Disease Control and Prevention) ประเทศสหรัฐอเมริกา (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2559) มีทั้งหมด 48 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้
สถานการณ์ของไวรัสซิกาในประเทศไทย
ถ้าได้ติดตามข่าวคงพอทราบว่า เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 กองควบคุมโรคของไต้หวัน ได้ออกมาประกาศว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา 1 ราย เป็นชายไทยที่เดินทางเข้าไปทำงานในไต้หวันผ่านทางสนามบินนานาชาติเถาหยวนเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2559 โดยได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสซิกาหลังจากเจ้าหน้าที่สนามบินพบว่าชายดังกล่าวมีไข้สูงผิดปกติจึงนำตัวไปตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด ส่วนผู้ร่วมเดินทางมาด้วยกันอีก 2 คน เมื่อตรวจแล้วก็ไม่พบเชื้อดังกล่าวแต่อย่างใด
ในส่วนของประเทศไทยเอง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า จริง ๆ แล้วไวรัสซิกาสามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยพบรอยโรคมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 แต่มาพบผู้ป่วยรายแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 และตั้งแต่นั้นมาก็พบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ 2-5 ราย ซึ่งผู้ป่วยทุกรายหายได้เอง และยังไม่เคยมีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ จนทำให้เด็กเกิดความพิการ
จากนั้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 กรมควบคุมโรคแถลงว่าพบผู้ป่วยชาย 1 ราย แต่เข้ารับการรักษาจนหายดีแล้ว อย่างไรก็ตามแม้จะยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกประกาศจัดให้
"โรคติดเชื้อไวรัสซิกา"
เป็นหนึ่งใน
โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559 ได้พบผู้ป่วยไวรัสซิกาที่ ต.เชียงดา อ.สร้างคอม จ.อุดรธานี หลังเดินทางกลับมาจากไต้หวัน และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2559
ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เพชรบูรณ์ บึงกาฬ และเชียงใหม่ ให้ความสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
หลังศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหภาพยุโรป (European Center for Disease Prevention and Control) ระบุเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมว่า สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาใน 4 จังหวัดของประเทศไทยอยู่ในระดับสีแดง คือมีการแพร่กระจายของโรคอย่างกว้างขวางในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(อ่านข่าวสั่งด่วนที่สุด 4 จังหวัด เฝ้าระวังไวรัสซิการะบาด ยกระดับเป็นสีแดง)
ได้รู้จักกันมากขึ้นแล้วกับโรคไวรัสซิกา คราวนี้ก็อยู่ที่ตัวของเราเองนี่ล่ะค่ะที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดี ยิ่งถ้าหากใครที่ต้องเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดก็ควรใส่ใจสุขภาพให้มาก ไม่อยากเจ็บป่วยทีหลังก็อย่าชะล่าใจนะคะ