ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน (15 ก.พ. 59)
โรคเบาหวาน
เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในวัยผู้ใหญ่ คือ ประมาณร้อยละ 2.5 ถึง 6 ของประชากร ซึ่งต่ำกว่าจำนวนผู้ป่วยจริงมาก เพราะยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้วาตนเองเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากในระยะแรกของโรคมักจะไม่แสดงอาการอะไร แต่ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้ทำการรักษาก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนรายแรงตามมามากมาย เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (ทำให้เป็นอัมพฤต อัมพาต) โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน (ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย) ต้อกระจก เบาหวานเข้าจอประสาทตา ทำให้ตาบอด หลอดเลือดเลือดเลื้ยงปลายเท้าตีบตัน (เกิดแผลเรื้อรังจนต้องตัดเท้า) ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดความสูญเสียด้านสุขภาพและเศรษฐกิจต่อตนเอง คุณภาพชีวิตของตนเองและคนรอบข้างก็พลอยแย่ไปด้วย
โรคเบาหวาน คืออะไร
โรคเบาหวานเกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินลดลง หรือมีการออกฤทธิ์ของอินซูลินผิดปกติ หรือมีความผิดปกติทั้งสองอย่างร่วมกัน
ฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ หรือมีแต่ใช้ไม่ได้ น้ำตาลจึงไม่ถูกนำไปใช้ จึงทำให้มีน้ำตาลในเลือดมากขึ้น จนกระทั้งไตขับออกมาในปัสสาวะได้
โรคเบาหวานมีกี่ชนิด
เบาหวานมี 4 ชนิดแบ่งตามสาเหตุดังนี้
1) ชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายไม่ผลิต หรือผลิตอินซูลินได้น้อยมาก มักพบในผู้ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี
2) ชนิดที่ 2 เกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอ หรือ ไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินที่ร่างกายผลิตขึ้นมาได้ เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือ มีการขาดอินซูลินร่วมด้วยก็ได้ มักจะพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยส่วนมากมีประวัติทางกรรมพันธ์ร่วมด้วย ซึ่งก็มักจะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ความอ้วน ทำให้อิทธิพลจากกรรมพันธ์แสดงออกได้มากขึ้น
3) ชนิดที่ 3 เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ เช่น อ้วนเกินไป มีลูกมาก หรือ เกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด หรือ เกิดพร้อมกับโรคอื่นๆ (ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มะเร็งตับอ่อน ตับแข็ง)
4) ชนิดที่ 4 เป็นเบาหวานที่ตรวจพบระหว่างตั้งครรภ์
อาการของโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยมักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมากก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อยๆ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทนจึงทำให้ร่างกายผอม กล้ามเนื้อลีบ อ่อนเพลีย นอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆก็จะทำให้อวัยวะเกิดความผิดปกติได้ ซึ่งก็จะนำภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาอีกมาก (หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง)
กลุ่มคนอายุ 15 ปี ขึ้นไป ทุกๆ 100 คน จะมีคนเป็นเบาหวาน 7 คน
กลุ่มคนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ทุกๆ 100 คน จะมีคนเป็นเบาหวาน 10 คน
ระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไหร่ถึงเป้นเบาหวาน
การวินิจฉัยโรคเบาหวานสำหรับผู้ที่มีอาการให้ตรวจน้ำตาลในเลือดเวลาไหนก็ได้ ถ้ามีค่าตั้งแต่ 200 mg/dl ขึ้นไปก็แสดงว่าเป็นเบาหวาน สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการ ควรตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. ถ้ามีค่ามากกว่า 126 mg/dl ขึ้นไปก็เป็นเบาหวาน (ควรตรวจซ้ำในวันอื่นอีกครั้ง)
การป้องกันโรคเบาหวานด้วยตนเองทำอย่างไร
เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นการป้องกัน และการตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญ ต้องระวังอย่าให้อ้วน โดยรับประทานอาหารอย่างสมดุล ลดหรือเลิกบุรี่ เหล้า หมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
การรักษาโรคเบาหวานมีวิธีอย่างไร
1) การรักษาโดยไม่ใช้ยา #กรณีที่ระดับน้ำตาลไม่สูงมาก สามารถควบคุมด้วยการควบคุมอาหาร ลดอาหารประเภทน้ำตาล ขนมหวาน แป้ง ข้าว ฯลฯ ทานผัก และเนื้อสัตว์เพิมแทน และออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ การควบคุมเบาหวานควรมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน เพื่อจะได้ปฎิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2) การรักษาด้วยยา ยาที่รักษามีหลายชนิด แต่การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายก็มีความจำเป็นที่จะต้องปฎิบัติควบคู่ไปด้วย มิเช่นนั้นการรักษาก็อาจจะไม่ได้ผลที่ดี
|