ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง ต.น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ โทร 052-080778
นายเจริญ ซ้อนฝั้น
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โทรศัพท์0843782356
นายบดินทร์ คล้อยคล้า
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล โทรศัพท์0854265973

ขณะนี้ 260 คน
สถิติวันนี้ 3,536 ครั้ง
สถิติเดือนนี้ 28,480 ครั้ง
สถิติปีนี้ 742,340 ครั้ง
สถิติทั้งหมด 2,532,204 ครั้ง
ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2557
 

ความรู้เรื่องจิตเวช (10 ส.ค. 59)

รคจิตเวชคืออะไร?

โรคจิตเวช คือ กลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลนั้นเกิดความทุกข์ทรมาน หรือมีความบกพร่องในกิจวัตรต่างๆ

โรคจิตเวชแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท โดยถือเอาสาเหตุและอาการเป็นตัวกำหนดโรคนั้นๆ

โรคจิตเวชที่พบบ่อยๆ ได้แก่

  1. โรคจิตเภท (Schizophrenia)
  2. โรคซึมเศร้า (Depression)
  3. โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
  4. โรคกังวลไปทั่ว (Generalized Anxiety Disorder)
  5. โรคออทิสซึ่ม (Autistic Disorder)
  6. ความผิดปกติที่เกิดจากการใช้สารเสพติด (Substance-related Disorder)
  7. โรคสมองเสื่อม (Dementia) ซึ่งแบ่งเป็นหลายชนิด เช่น อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Type)

สาเหตุทั่วไปของการเกิดโรคจิตเวช

ปัจจัยโน้มเอียงที่มีอยู่ก่อน

  1. พันธุกรรม มักพบว่าญาติของผู้ที่ป่วยด้วยโรคจิตเวชหลายโรคมีโอกาสเป็นโรคสูงกว่าประชากรทั่วไป
  2. พื้นอารมณ์ที่ติดตัวมาของบุคคล พื้นอารมณ์นี้จะมีผลต่อการแสดงออก ปฏิสัมพันธ์ และการรับรู้สิ่งรอบตัวของบุคคลนั้นๆ ซึ่งมีจะมีผลทางบวกหรือลบต่อสภาพจิตใจและบุคลิกภาพ

ปัจจัยที่เร่งให้เกิดอาการ

  1. ความผิดปกติในการหลั่งสารเคมีในสมอง  สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญยิ่งของร่างกายมนุษย์ สมองมีระบบประสาทที่ใหญ่โตซับซ้อน ทำหน้าที่รับและสื่อสารข้อมูลชนิดต่างๆ รวมทั้งการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย สมองประกอบด้วยสารสื่อประสาทกว่า 100 ชนิด ที่คอยทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทในส่วนต่างๆ เมื่อมีสารสื่อประสาทมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็จะมีผลกระทบต่อเซลล์ประสาทในสมอง ทำให้การสื่อสารข้อมูลต่างๆ ถูกรบกวน ซึ่งมีผลทำให้เกิดปัญหาด้านจิตใจ อารมณ์ และร่างกาย
  2. การที่สมองถูกทำลายและการทำงานของสมองเสื่อมถอย  การบาดเจ็บที่สมอง เนื้องอกในสมอง และการติดเชื้อในสมองสามารถทำให้เกิดโรคจิตเวชได้ การกลายพันธุ์ของเซลล์สมองในคนชราสามารถทำให้การทำงานของสมองเสื่อมถอย ทำให้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์
  3. ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน  สตรีบางคนจะมีอาการซึมเศร้าหลังการคลอดหรือก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากในช่วงนี้การหลั่งฮอร์โมนจะผิดปกติ ฮอร์โมนบางประเภทมีผลต่อความสมดุลทางอารมณ์
  4. ความเครียด ความเครียดและความวิตกกังวลมักจะเร่งให้เกิดอาการของโรคจิตเวช คนที่ไม่ยืดหยุ่นหรือเรียกร้องจากตนเองสูง (self-demanding) มักจะทำให้ตนเองต้องมีความกดดันที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ ความกดดันที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น การสูญเสียญาติ การว่างงาน ความแตกร้าวในชีวิตสมรส การเจ็บป่วยเรื้อรังและการเป็นหนี้ก็อาจเป็นตัวเร่งได้

ปัจจัยที่ทำให้อาการป่วยดำเนินต่อไป

  1. ไม่ได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสม  โรคจิตเวชรักษาได้เช่นเดียวกับการป่วยเป็นโรคอื่นๆ และขอแนะนำให้รับการักษาตั้งแต่เริ่มป่วยในระยะแรกๆ แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตเวชและญาติมักไม่อยากยอมรับความจริงว่า บุคคลผู้เป็นที่รักเจ็บป่วยเป็นโรคนั้นๆ บางคนถึงหันไปใช้วิธีทางไสยศาสตร์เพื่อรักษาโรค ซึ่งเป็นผลทำให้ไปรับการรักษาโรคอย่างเหมาะสมล่าช้า บางคนที่ไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับยาที่ใช้รักษาทางจิตเวช มีความเชื่อผิดๆ ว่ายาเหล่านั้นเป็นผลเสียต่อร่างกาย และอาจทำให้ติดได้ พวกเขาจึงเลิกใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน ซึ่งมีผลให้ป่วยซ้ำ
  2. บรรยากาศความตึงเครียด ความขัดแย้งในครอบครัว หรือการแสดงออกทางอารมณ์และการสื่อสารที่ไม่ดี  ทุกสิ่งข้างต้นก็เป็นปัจจัยที่ทำให้อาการป่วยดำเนินต่อไป หรือรุนแรงขึ้นได้

การวินิจฉัยโรคจิตเวช

ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีข้อมูลว่าโรคจิตเวชมักเกิดจากความไม่สมดุลของการหลั่งสารสื่อประสาท แต่ยังไม่มีการทดสอบที่สามารถบ่งชี้ว่าสารสื่อประสาทตัวใดมีปัญหาหรือบอกปริมาณของสารสื่อประสาทชนิดนั้นๆ ให้แน่ชัดได้ จิตแพทย์วินิจฉัยโรคโดยอาศัยการสังเกตอาการของคนไข้ และการบอกเล่าอาการจากคนไข้และญาติเป็นพื้นฐาน

อย่างไรก็ตามในบางกรณี จะมีการแนะนำให้คนไข้ไปตรวจทางกายบางอย่างเพื่อที่จะวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น เช่น การตรวจเลือดแยกแยะว่า ปัญหาต่อมไทรอยด์เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าหรือไม่ การตรวจคลื่นสมอง สามารถช่วยระบุได้ว่าบุคคลนั้นป่วยเป็นโรคจิตเวชหรือโรคลมชัก และการถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะสามารถช่วยบอกปัญหาได้ชัดเจนขึ้น เช่น เลือดออกในสมอง เนื้องอกหรือสมองฝ่อ


สรุป

โรคจิตเวช เหมือนโรคอื่นๆ ที่ต้องรักษา และสามารถรักษาให้หายได้ โรคจิตเวชไม่ใช่โรคติดต่อ แต่หากจัดการกับอารมณ์ในแง่ลบในทางที่ผิด ก็จะทำให้เราและผู้อยู่รอบข้างเราเครียดมากขึ้น ดังนั้น เราจึงควรรักษาจิตใจให้มีสุขภาพดี และเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายและจัดการกับความเครียด การทำเช่นนี้จะลดโอกาสทีเราจะป่วยเป็นโรคจิตเวช





 

 
 
 
 
Copyright © 2014-2024 โดย องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง - www.namboluang.go.th
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง เลขที่ 222 หมู่ที่ 2 ต.น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 50120 โทรศัพท์ (052) 080778 โทรสาร (052) 080935 , (052) 080926 Email:namboluang@gmail.com

เว็บไซต์ออกแบบและพัฒนาโดย www.click2solutions.com